Installation guide (ไทย)
นี่คือคู่มือแนะนำการติดตั้ง Arch Linux โดยใช้ installation image อย่างเป็นทางการ
ก่อนการติดตั้ง เราแนะนำให้คุณอ่าน คำถามที่พบบ่อย และ Help:Reading สำหรับแบบแผนต่าง ๆ ที่เอกสารนี้ใช้ โดยเฉพาะที่ว่า ตัวอย่างโค้ดอาจมี placeholders (สังเกตได้จากการใช้ ตัวเอียง
) ซึ่งใช้แทนค่าจริงที่คุณต้องใส่เอง และถ้าคุณกำลังมองหาวิธีการติดตั้งแบบละเอียด ลองไปดูที่ Getting and installing Arch
คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความในวิกิหรืออ่าน man page ของโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งในเอกสารนี้มีการลิงค์ไปยังบทความเหล่านั้น สำหรับความช่วยเหลือเชิงโต้ตอบ คุณสามารถใช้ ช่อง IRC และ กระดานข่าว ได้
Arch Linux ควรที่จะทำงานได้บนเครื่องที่ใช้ชุดคำสั่ง x86-64 โดยมี RAM อย่างน้อย 512 MiB อย่างไรก็ตามระบบอาจต้องการ RAM มากกว่านั้นในการบู๊ตเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการ โดยการติดตั้งโดยทั่วไปจะใช้พื้นที่ไม่เกิน 2 GiB
การติดตั้งจำเป็นต้องดึงแพ็คเกจมาจากอินเทอร์เน็ต ดังนั้นคุณต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้
ก่อนเริ่มติดตั้ง
ดาวน์โหลด image
ไปยังหน้าดาวน์โหลด และดาวน์โหลดไฟล์ ISO หรือ netboot พร้อมกับ GnuPG signature ของไฟล์
ตรวจสอบ signature
เราแนะนำให้คุณตรวจสอบ signature ของไฟล์ที่คุณได้ดาวน์โหลดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์มาจาก HTTP mirror ซึ่งการดาวน์โหลดมีแนวโน้มที่จะถูกดักเพื่อแพร่กระจายไฟล์ที่ถูกดัดแปลงด้วยความประสงค์ร้าย
บนระบบที่ได้มีการติดตั้ง GnuPG ไว้แล้ว ดาวน์โหลด PGP signature (อยู่ในหน้าดาวน์โหลดด้านล่างคำว่า Checksums) ไว้ในไดเรกทอรีเดียวกับไฟล์ ISO ที่ดาวน์โหลดมา แล้วตรวจสอบ signature นั้นได้โดยใช้คำสั่ง:
$ gpg --keyserver-options auto-key-retrieve --verify archlinux-version-x86_64.iso.sig
หรือ บนระบบ Arch Linux คุณสามารถใช้คำสั่ง:
$ pacman-key -v archlinux-version-x86_64.iso.sig
เตรียมสื่อกลางการติดตั้ง
การจัดเตรียม image ในการติดตั้ง Arch Linux บนเครื่องที่ต้องการ สามารถทำได้โดยใช้ แฟลชไดร์ฟ USB, แผ่นเก็บข้อมูล หรือผ่านเครือข่ายด้วย PXE ปฏิบัติตามขั้นตอนในบทความของสื่อกลางที่คุณต้องการ แล้วไปสู่ขั้นตอนต่อไป
บู๊ตเข้าสู่ live environment
- ชี้ boot device ไปยังอุปกรณ์ที่มีสื่อกลางการติดตั้ง Arch Linux ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้โดยการกดคีย์ตามที่แสดงบนหน้าจอในเฟส POST สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ลองดูคู่มือ motherboard ของคุณ
- เมื่อหน้า boot loader ของสื่อกลางการติดตั้งปรากฏขึ้นแล้ว เลือก สื่อกลางการติดตั้ง Arch Linux และกด
Enter
เพื่อบู๊ตเข้าสู่ environment สำหรับการติดตั้งTip: image สำหรับการติดตั้งใช้ systemd-boot สำหรับการบู๊ตในโหมด UEFI และ syslinux สำหรับการบู๊ตในโหมด BIOS สำหรับพารามิเตอร์การบู๊ต ลองอ้างอิงถึง README.bootparams - คุณจะถูกเข้าสู่ระบบในคอนโซลเสมือนในฐานะของผู้ใช้งาน root และพบกับ shell prompt Zsh
สำหรับการเปลี่ยนไปยังคอนโซลอื่น เช่น การเปลี่ยนคอนโซลเพื่อดูคู่มือนี้โดยใช้ Lynx ไปควบคู่กับการติดตั้งนั้น สามารถทำได้โดยการใช้คีย์ลัด Alt+ลูกศร
และในการแก้ไขไฟล์การตั้งค่าต่าง ๆ ในระบบมี mcedit(1), nano และ vim ติดตั้งไว้ให้แล้ว ลองดู packages.x86_64 สำหรับรายการของแพ็คเกจที่มีให้ในสื่อกลางการติดตั้ง
ตั้งค่าเลย์เอาต์ของคีย์บอร์ด
เลย์เอาต์เริ่มต้นของคีย์บอร์ดคือ US แต่คุณสามารถเพิ่มเลย์เอาต์ที่ต้องการได้โดยใช้คำสั่ง loadkeys keymap_file
: ซึ่งอยู่ใน /usr/share/kbd/keymaps/
(ไม่ต้องระบุ path และนามสกุลไฟล์ก็ได้)
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ปกติคุณจะใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยอัตโนมัติผ่าน DHCP discovery หลังบู๊ตสื่อการติดตั้งอยู่แล้ว (ถ้าเป็นการเชื่อมต่อแบบใช้สาย) แต่ถ้าใช้เครือข่ายแบบไร้สาย คุณต้องเรียกใช้โปรแกรม wifi-menu
เพื่อตั้งค่าเครือข่ายก่อน; อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ การตั้งค่าเครือข่ายไร้สาย และถ้าคุณต้องการใช้ static IP หรือใช้เครื่องมือจัดการเครือข่ายอื่น คุณต้องหยุดใช้ DHCP ด้วยคำสั่ง systemctl stop dhcpcd@eth0.service
แล้วค่อยทำตามวิธีในหน้า Netctl
อัพเดตเวลาของระบบ
อ่าน systemd-timesyncd
แบ่งพาร์ทิชั่นของดิสก์
อ่านรายละเอียดที่หน้า การแบ่งพาร์ทิชั่น; คุณอาจต้องสร้างพาร์ทิชั่นพิเศษขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ลองอ่านหน้า EFI System Partition และ GRUB BIOS boot partition และถ้าคุณต้องการใช้ stacked block devices สำหรับ LVM, การเข้ารหัสดิสก์ หรือ RAID ก็ให้ทำในขั้นตอนนี้ด้วย
ฟอร์แมตพาร์ทิชั่น
อ่าน ระบบไฟล์ และ Swap สำหรับรายละเอียดและวิธีการ
Mount พาร์ทิชั่น
Mount พาร์ทิชั่น root ที่ /mnt
หลังจากนั้นให้สร้างและ mount ไดเร็คทอรี่อื่น ๆ (ถ้ามี) (เช่น /mnt/boot
, /mnt/home
, ...) จากนั้นให้เปิดใช้พาร์ทิชั่น swap ถ้าต้องการให้ genfstab มองเห็น
การติดตั้ง
เลือก mirror
แก้ไข /etc/pacman.d/mirrorlist
และเลือก download mirror ที่ต้องการ เราแนะนำให้ใช้ mirror ในท้องถิ่นจะเร็วที่สุด; ลองอ่านรายละเอียดที่หน้า Mirrors เนื่องจากการตั้งค่าในไฟล์ mirrorlist
จะถูกนำไปใช้ในระบบใหม่ด้วยเมื่อคุณใช้สคริปต์ pacstrap เราแนะนำให้คุณตั้งค่า mirror ให้ถูกต้องเลยในขั้นตอนนี้เพิ่มความสะดวก
หมายเหตุ: mirror ที่ใช้ได้ดีในประเทศไทย เช่น ของม.เกษตรศาสตร์
ติดตั้งแพคเกจพื้นฐาน
ใช้สคริปต์ pacstrap(8) เพื่อติดตั้งโปรแกรมจากกลุ่ม base:
# pacstrap /mnt base linux linux-firmware
ถ้าต้องการติดตั้งแพคเกจหรือกลุ่มแพคเกจอื่น ให้เพิ่มชื่อที่ต้องการติดตั้งต่อท้ายไปในคำสั่งด้านบนโดยเว้นช่องไฟระหว่างแต่ละชื่อ
ตั้งค่าระบบ
สร้าง fstab (ใช้ตัวเลือก -U
หรือ -L
ถ้าต้องการใช้ UUID หรือ label ในไฟล์):
# genfstab -p /mnt >> /mnt/etc/fstab
Change root เข้าไปในรากของระบบใหม่:
# arch-chroot /mnt
ตั้ง ชื่อเครื่อง:
# echo computer_name > /etc/hostname
ตั้ง โซนเวลา:
# ln -s /usr/share/zoneinfo/zone/subzone /etc/localtime
เปิดใช้ locales ที่ต้องการใน /etc/locale.gen
จากนั้นก็สร้าง locale โดยใช้คำสั่ง:
# locale-gen
ตั้ง locale เริ่มต้นใน /etc/locale.conf
และ $HOME/.config/locale.conf
:
# echo LANG=your_locale > /etc/locale.conf
เพิ่ม keymap และ font สำหรับคอนโซลใน /etc/vconsole.conf
ตั้งค่าเครือข่ายสำหรับเครื่องใหม่: อ่านหน้า การตั้งค่าเครือข่าย และ การตั้งค่าเครือข่ายแบบไร้สาย
ตั้งค่า /etc/mkinitcpio.conf เพิ่มเติมถ้าต้องการ จากนั้นสร้าง RAM disk ใหม่ด้วยคำสั่ง:
# mkinitcpio -P
กำหนดรหัสผ่านสำหรับผู้ใช้ root:
# passwd
ติดตั้งบู๊ตโหลดเดอร์
อ่านหน้า บู๊ตโหลดเดอร์ เพื่อดูวิธีการติดตั้งและการตั้งค่า
รีบู๊ตเครื่อง
ออกจาก chroot โดยพิมพ์ exit
หรือกดปุ่ม Ctrl+D
Unmount พาร์ทิชั่นทั้งหมดด้วยคำสั่ง umount -R /mnt
: ขั้นตอนนี้จะทำให้คุณพบพาร์ทิชั่นที่ยังถูกใช้งานอยู่และไม่สามารถ unmount ได้ จะได้หาสาเหตุได้โดยใช้ fuser
สุดท้ายให้รีบู๊ตเครื่องโดยพิมพ์คำสั่ง reboot
: พาร์ทิชั่นที่ยังถูก mount อยู่จะถูก systemd ปลดออกโดยอัตโนมัติ อย่าลืมดึงแผ่นซีดีหรือสื่อที่คุณใช้ในการบู๊ตเพื่อติดตั้งออกหลังรีบู๊ตด้วย หลังรีบู๊ตเสร็จ คุณสามารถล็อกอินด้วยผู้ใช้ root
หลังการติดตั้ง
ลองอ่าน คำแนะนำทั่วไป สำหรับวิธีการจัดการระบบและสิ่งที่คุณอาจอยากทำหลังติดตั้งเสร็จ (เช่น การติดตั้ง graphical user interface, เสียง, หรือ touchpad)
นอกจากนั้นยังมีแอพพลิเคชั่นอีกมากมายที่คุณอาจสนใจ ลองดูที่ รายชื่อแอพพลิเคชั่น